ใบเตย

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

ถั่วดำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถั่วดำ

                                               ถั่วดํา


ถั่วดำ ชื่อสามัญ Vigna mungo, Black gram, Black lentil[1], Catjung, Cow pea[3], Black matpe, Urd[5] 
ถั่วดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna mungo (L.) Hepper (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Phaseolus mungo L.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[5]
ถั่วดํา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วนา ถั่วไร่ ถั่วมะแป ถั่วซั่ง มะถิม[3] ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วแขก[5]เป็นต้น
หมายเหตุ : ถั่วดำที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นพืชคนละชนิดกันกับ “ต้นถั่วดำ” ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bruguiera parviflora (Roxb.) Wight & Arn. ex Griff และจัดอยู่ในวงศ์โกงกาง (RHIZOPHORACEAE)
จากข้อมูลของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า ถั่วดํา ก็คือ “ถั่วเขียวผิวดำ” ที่เดิมใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus mungo L. และต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Vigna mungo (L.) Hepper สรุปแล้วถั่วดำก็คือถั่วเขียวชนิดหนึ่งนั่นเอง[4]
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าถั่วดำมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอินเดีย หรือในพม่า เนื่องจากมีหลักฐานที่ระบุว่ามีศูนย์กลางแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและเอเชียกลาง และภายหลังได้แพร่กระจายไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย พม่า มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ตลอดจนถึงทวีปอเมริกา แอฟริกา และออสเตรเลีย[5]

ลักษณะของถั่วดำ

ลักษณะถั่วดำและถั่วเขียวโดยรวมแล้วจะคล้ายกัน ๆ โดยรากถั่วดำมีระบบรากแก้ว
  • ต้นถั่วดำ จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นตั้งตรงเป็นพุ่ม มีความสูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร บางสายพันธุ์มีลำต้นแบบกึ่งเลื้อย ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือใบเลี้ยงจะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม และมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป[5]
  • ใบถั่วดำ ใบจริงคู่แรกจะเป็นใบเดี่ยวอยู่ตรงข้ามกัน และใบจริงในลำดับต่อไปจะเกิดแบบสลับอยู่บนลำต้น แต่ละใบประกอย จะมีใบย่อย 3 ใบ มีขนาดเล็ก สีเขียวเข้ม และหนา เป็นรูปไข่ (ใบย่อยมีขนาดเล็กกว่าใบย่อยถั่วเขียว) ส่วนก้านใบยาวประมาณ 6-20 เซนติเมตร ที่ฐานของก้านใบจะมีหูใบอยู่ 2 อัน ส่วนก้านใบย่อยจะสั้น ใบย่อยใบกลางมีหูใบย่อย 2 อัน ส่วนใบย่อย 2 ใบล่าง จะมีหูใบย่อยอยู่ข้างละอัน และใบมีขนปกคลุมยาวและหนาแน่นอยู่ทั่วไป[5]
  • ฝักถั่วดำ ฝักมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว ฝักสั้นตรง ฝักเมื่อแก่อาจมีสีขาวนวล น้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ในฝักจะมีเมล็ดอยู่ไม่เกิน 8 เมล็ด[5]

ตะไคร้

ตะไคร้

ตะไคร้


ตะไคร้ ชื่อสามัญ Lemongrass
ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)
ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย
ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ

สรรพคุณของตะไคร้

  1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
  2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
  3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
  4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
  5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
  7. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
  9. น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้
  10. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  11. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
  12. ใช้เป็นยาแก้อาเจียนหากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
  13. ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
  14. รักษาโรคหอบหืดด้วยการใช้ต้นตะไคร้
  15. ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
  16. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
  17. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
  18. ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
  19. ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
  20. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
  21. มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
  22. ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการและรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
  23. ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
  24. ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
  25. ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
  26. ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
  27. ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
  28. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี 

กระชาย

กระชาย

                                           กระชาย


กระชาย (กระชายขาวกระชายเหลือง) ชื่อสามัญ Fingerroot, Chinese ginger, Chinese keys, Galingale
กระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรกระชาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพมหานคร), กระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม), จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ละแอน (ภาคเหนือ), ขิงจีน เป็นต้น

ลักษณะของกระชายเหลือง

  • ต้นกระชาย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ มีรากอวบ เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกเป็นกระจุก ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มักพบขึ้นในป่าดิบร้อนชื้น
  • ใบกระชาย คือลักษณะของส่วนที่อยู่เหนือดิน มีประมาณ 2-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรี ใบยาวประมาณ 12-50 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร โคนใบมนหรือแหลม ส่วนปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ เส้นกลางใบ ด้านใบ และกาบใบด้านบนจะเป็นร่อง ส่วนด้านล่างจะนูนเป็นสัน ด้านใบเรียบมีความยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนกาบใบเป็นสีชมพูยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ระหว่างก้านใบและกาบใบจะมีลิ้นใบ
  • ดอกกระชาย ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยจะออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปใบหอกกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ที่กลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายจะแยกเป็น 3 แฉก ส่วนกลีบดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 3 กลีบ เป็นรูปใบหอก มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่มี 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร ส่วนอีก 2 กลีบจะมีขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อัน แต่มี 5 อันที่เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนมีสีชมพู รูปไข่กลับขนาดเท่ากัน มีความกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ส่วนอีก 3 กลีบล่างมีสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง มีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร และที่ปลายจะแผ่กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีชมพูหรือสีม่วงแดงเป็นเส้นอยู่เกือบทั้งกลีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ จะมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์อยู่ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรตัวเมีย
  • กระชาย มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง (แต่ในบทความนี้เราจะพูดกันถึงกระชายเหลืองครับ) โดยกระชายเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในแกงป่า หรือผัดต่าง ๆ โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารกันมากที่สุดคือ รากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า “นมกระชาย” ซึ่งรากกระชายนี้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถใช้เป็นผักจิ้มได้โดยตรง แต่คนส่วนใหญ่มักจะนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องแกงซะมากกว่า เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี
  • สรรพคุณของกระชาย

    1. กระชายมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
    2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
    3. กระชายเหลืองมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
    4. ช่วยบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ บำบัดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED) (เหง้าใต้ดิน)
    5. ช่วยบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้เหง้าและรากของกระชายนำมาปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่นตากแห้งแล้วบดจนเป็นผง และให้ใช้ผงแห้งที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา แล้วรับประทานเพียงครั้งเดียว (เหง้า, ราก)
    6. ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง
    7. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
    8. ช่วยบำรุงกำหนัด แก้อาการกามตายด้าน (เหง้าใต้ดิน)
    9. ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
    10. ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิตสูง แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ
    11. สรรพคุณกระชายช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
    12. กระชายมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้โรคในปากและคอ เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล (ใบ, เหง้า)
    13. ช่วยแก้ฝ้าขาวในปาก ด้วยการใช้กระชายที่ล้างสะอาดนำมาบดแบบไม่ต้องปอกเปลือก แล้วใส่ในโถปั่นพอหยาบ แล้วนำมาใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น แล้วนำมากินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนชาเล็ก กินวันละ 3 มื้อก่อนอาหารประมาณ 15 นาที ประมาณ 1 อาทิตย์ (ราก)
    14. เหง้าใต้ดินมีรสเผ็ดร้อนและขม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้เหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ ถ้าสดให้ใช้ประมาณ 5-10 กรัม แต่ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ประมาณ 3-5 กรัม แล้วนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ หรือจะนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารไว้รับประทานก็ได้เช่นกัน (เหง้าใต้ดิน)
    15. ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ใช้เหง้าที่ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนหรือตำผสมกับน้ำปูนใส หรือจะคั้นให้ข้น ๆ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาก็ได้ (เหง้า, ราก)
    16. ช่วยแก้บิด โดยใช้เหง้าสดประมาณ 2 เหง้า นำมาบดจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม (เหง้าสด)
    17. ช่วยรักษาอาการท้องเดินในเด็ก (เหง้า, ราก)
    18. รากกระชายมีสรรพคุณช่วยแก้โรคกระเพาะ (ราก)
    19. ช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด (เหง้า, ราก)
    20. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะพิการ (เหง้า, ราก)

ชะพลู

ชะพลู
ชะพลู (Wildbetal Leafbush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก นมวา ส่วนภาคอีสานเรียก ผักอีไร หรือช้าพลูต้น และภาคเหนือเรียก ผักปูนก, พลูนก หรือพลูลิง เป็นต้น ซึ่งต้นชะพลูนี้หลายๆ คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นต้นพลูที่ไว้รับประทานกับหมาก ด้วยชื่อและลักษณะที่คล้ายกัน แต่ในความจริงแล้วเป็นคนละชนิดกัน ต้นชะพลูนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าต้นพลู ส่วนใบพลูจะมีรสจัดกว่าชะพลู โดยต้นชะพลูนี้มักชอบขึ้นในพื้นที่ลุ่มที่มีความชื้น และขยายพันธุ์โดยการปักชำ
ประโยชน์และสรรพคุณของชะพลู
ต้น, ดอก, ใบ – ช่วยขับเสมหะได้ดี
ราก – ช่วยในการบำรุงธาตุในร่างกาย แก้ธาตุพิการ แก้โรคบิด และแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รวมทั้งขับเสมหะด้วย
ทั้งต้น – ช่วยในการรักษาโรคเบาหวาน และแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รวมทั้งช่วยขับเสมหะได้ดี
ลักษณะทั่วไปของชะพลู
สำหรับต้นชะพลูนั้นเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก เป็นเถาเลื้อยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีลำต้นสูงประมาณ 30 – 80 เซนติเมตร โดยลำต้นนั้นจะทอดไปตามพื้นดิน สีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ และมีรากงอกออกมาตามข้อของลำต้นช่วยในการยึดเกาะ ซึ่งมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยวบาง ออกแบบเรียงสลับ เป็นรูปหัวใจคล้ายใบพลู แต่ขนาดเล็กกว่า ปลายแหลม โคนเว้า และมีดอกออกเป็นช่อๆ เล็กๆ สีขาวที่ซอกใบ เป็นลักษณะทรงกระบอก สามารถปลูกได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เปียกชื้นจะขึ้นได้ดีมาก


ชิงชัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชิงชัน
ชิงชัน เป็นชื่อของไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ประเภทไม้ผลัดใบที่อยู่ในวงศ์ Leguminosae ชนิดหนึ่ง (อยู่ในวงศ์เดียวกับประดู่)

ต้นไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและก็สามารถแพร่กระจายพันธุ์ตามป่าดิบแล้งตลอดจนถึงป่าเบญจพรรณทั่วไปยกเว้นเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้นที่ไม่สามารถแพร่กระจายพันธุ์ได้เป็นไม้กลางแจ้งที่สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกประเภทและต้องการน้ำเพียงปานกลาง
ลักษณะของต้นไม้โดยรวม เปลือกจะมีความหนาซึ่งเป็นสีน้ำตาลอมเทาสามารถล่อนออกเป็นแว่นๆได้และมีเนื้อภายในเป็นสีเหลือง ใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ดอกมีขนาดเล็กที่รวมกันเป็นช่อ ฝักเป็นรูปหอกแต่แบนส่วนหัวท้ายของฝักนั้นจะแหลม ส่วนระบบรากนั้นจะมีความลึกมาก
เนื่องจากไม้ชิงชันนั้นมีลักษณะที่แข็งและเหนียวรวมถึงมีลักษณะที่ดูสวยงามมากดังนั้นจึงนิยมนำมาทำเป็น เครื่องเรือน เครื่องดนตรีต่าง ๆ ฯลฯ นอกจากประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมพื้นบ้านแล้วต้นไม้ชิงชันยังให้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรอีกด้วย.
ประโยชน์และสรรพคุณของชิงชัน
แก่น – ช่วยในการบำรุงโลหิตในผู้หญิงได้ดี ให้รสฝาดร้อน
เปลือก – สามารถนำไปต้มแล้วนำมาชะล้างหรือสมานบาดแผล รวมทั้งรักษาแผลเรื้องรังด้วย

ชะอม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชะอม

                                             ชะอม

ชะอม ชื่อสามัญ Climbing wattle, Acacia, Cha-om
ชะอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia pennata (L.) Willd. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)
ผักชะอม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ผักหละ (ภาคเหนือ), อม (ภาคใต้), ผักขา (ภาคอีสาน อุดรธานี), พูซูเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน), โพซุยโดะ (กะเหรี่ยง) เป็นต้น

ลักษณะของชะอม

  • ต้นชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามแหลม ส่วนลักษณะของใบชะอมเป็นใบประกอบสีเขียวขนาดเล็ก มีก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ มีลักษณะคล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ใบย่อยมีขนาดเล็กออกตรงข้ามกัน คล้ายรูปรีประมาณ 13-28 คู่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบย่อยจะหุบในเวลาเย็น และแผ่ออกเพื่อรับแสงในช่วงกลางวัน ส่วนดอกชะอม มีขนาดเล็กออกตามซอกใบ มีสีขาวถึงขาวนวล
  • วิธีการปลูกชะอม ปลูกโดย การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน โดยไม่ต้องต่อตาหรือชำกิ่ง การปลูกผักชะอมส่วนมากจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด เพราะจะได้ต้นที่แข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีหนามหนากว่าการปลูกด้วยวิธีอื่น
    การปลูกชะอม ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยนำมาเมล็ดชะอมมาใส่ถุงพลาสติก รดน้ำวันละครั้ง เมื่อเมล็ดงอกก็ให้ทำการย้ายลงดิน โดยปลูกห่างกันประมาณ 1 เมตร และให้ปุ๋ยสดหรือมูลสัตว์ในการบำรุงต้น ถ้าปลูกในฤดูร้อนแล้วหมั่นรดน้ำจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าการปลูกในฤดูฝน เพราะเมล็ดชะอมมีโอกาสเน่าได้สูง ผักชะอม ปกติแล้วจะไม่ค่อยมีโรคและแมลงศัตรูพืชมารบกวนเท่าไหร่ หากพบก็ใช้ปูนขาวโรยไว้รอบโคนต้น แต่ถ้าเป็นแมลงมีหนอนกินยอดชะอมก็ให้ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดทุก ๆ 8 วัน การเก็บยอดชะอม ควรเก็บให้เลือกยอดไว้ 3-4 ยอดเพื่อให้ต้นได้โต เพื่อความปลอดภัยควรเก็บหลังจากการฉีดยาฆ่าแมลงแล้วไม่น้อยกว่า 7 วัน และสามารถเก็บเกี่ยวจากต้นที่ปลูกกิ่งตอนได้ 10-15 วัน และตัดยอดขายได้ทุก ๆ 2 วัน
  • ประโยชน์ของชะอม

    1. ประโยชน์ชะอมช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง
    2. สรรพคุณของชะอม ยอดชะอมช่วยลดความร้อนในร่างกายได้
    3. ผักรสมันอย่างชะอมมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ
    4. ชะอมมีสรรพคุณช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
    5. รากชะอมนำมาฝนกินช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้
    6. สรรพคุณชะอมมีส่วนช่วยบำรุงเส้นเอ็น
    7. ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง
    8. ประโยชน์ของชะอม ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย ด้วยสูตรน้ำชะอมหมักผม เพียงแค่นำใบชะอมประมาณ 1 กำมือมาต้มกับน้ำเปล่า 3 ถ้วย จนได้น้ำชะอมเข้มข้น กรองเอาแต่น้ำ เมื่อสระผมเสร็จให้นำผ้าขนหนูมาชุบน้ำชะอมที่เตรียมไว้ บิดพอหมาด นำมาเช็ดผมให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผมแห้ง ๆ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
    9. ชะอม ประโยชน์นำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูชะอม เช่น ไข่ชะอม ไข่ทอดชะอม ชะอมชุบไข่ แกงส้มชะอมกุ้ง แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกหรือนึ่งใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก น้ำพริกกะปิ รับประทานร่วมกับส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือจะนำไปปรุงเป็นแกงรวมกับปลา เนื้อ ไก่ กบ เขียด หรือต้มเป็นอ่อม ทำแกงลาว แกงแค เป็นต้น

คะน้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คะน้า

ผักคะน้า


ผักคะน้า ชื่อสามัญ Kai-Lan (Gai-Lan), Chinese broccoli, Chinese kale (ชาวจีนจะเรียกว่าผักชนิดนี้ว่า “ไก่หลันไช่“)
ผักคะน้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L. Cv. Alboglabra Group (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica alboglabra L.H.Bailey) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
คะน้า เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียซึ่งเพาะปลูกมากในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย
ผักคะน้าเป็นผักที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี (แต่ช่วงเวลาเพาะปลูกที่ดีที่สุดจะในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน) มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น สำหรับบ้านเราสายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ใบกลม พันธุ์ใบแหลม พันธุ์ยอดหรือก้าน เป็นต้น เมื่อหาซื้อมาแล้วควรเก็บใส่ไว้ในกล่องหรือถุงพลาสติก มัดหรือปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักของตู้เย็น ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาวิตามินในผักให้คงอยู่ได้มากที่สุด

ประโยชน์ของคะน้า

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
  2. ผักคะน้ามีประโยชน์ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
  4. ผักคะน้ามีวิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี)
  5. สรรพคุณผักคะน้าช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
  6. สรรพคุณของคะน้ามีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
  8. ประโยชน์ของผักคะน้า ช่วยบำรุงโลหิต
  9. ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้ามีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  10. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  11. ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
  12. ผักคะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน (แคลเซียม)
  13. คะน้ามีสรรพคุณช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (แคลเซียม)
  14. สรรพคุณคะน้ามีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  15. ผักคะน้ามีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้ (ธาตุแมกนีเซียม)
  16. ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ทำให้อัตราการเปลี่ยนของความจำช้าลง และช่วยชะลอการเสื่อมของอายุสมอง (วิตามินอี)
  17. มีคุณสมบัติช่วยป้องกันยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ต่อต้านอนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็ง ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยขับพิษของสารก่อมะเร็ง
  18. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
  19. สรรพคุณของผักคะน้าช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  20. ผักคะน้ามีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคหอบหืด เพราะช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม และยังช่วยขยายหลอดลมของผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอีกด้วย
  21. ผักรสขมอย่างคะน้าช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมเมื่อถูกโจมตีด้วยละอองเกสรหรือฝุ่นที่ทำให้ร่างกายต่อต้าน
  22. ผักคะน้ามีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคท้องผูก (เส้นใย)
  23. การรับประทานผักคะน้าเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดตะคริว
  24. ประโยชน์ผักคะน้า ช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
  25. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือน
  26. เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลเป็นพิเศษ เพราะผักคะน้าถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มผักที่มีน้ำตาลน้อยที่สุดเลยก็ว่าได้ (3-5%)
  27. คะน้า ประโยชน์ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ (กรดโฟลิก)
  28. ผักคะน้ามีโฟเลตสูง จำเป็นอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด (โฟเลต)
  29. ประโยชน์ของคะน้า ช่วยลดอาการกินของจุบจิบ เพราะแคลเซียมจะช่วยปรับระดับของฮอร์โมนให้คงที่ ทำให้ความอยากกินของจุบจิบสลายตัวไปได้ (ธาตุแคลเซียม)