ใบเตย

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

กันเกรา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กันเกรา
กันเกรา (ชื่อวิทยาศาสตร์Fagraea fragrans) เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น

กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกราหมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด
ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม. สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็น จำนวนมากนิเวศวิทยา ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ต่ำ ที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทยออกดอก เมษายน - มิถุนายน เป็นผล มิถุนายน - กรกฎาคมขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
ประโยชน์ได้แก่ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก

สรรพคุณของกันเกรา

  1. แก่นกันเกรา มีรสเฝื่อน ฝาด และขม สรรพคุณช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น)
  2. แก่นช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น)
  3. สรรพคุณกันเกรา เปลือกต้นช่วยบำรุงโลหิต (เปลือกต้น)
  4. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (แก่น)
  5. ช่วยแก้เลือดพิการ (แก่น)
  6. แก่นกันเกรา มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิปารัมในหลอดทดลองได้ (แก่น)
  7. ช่วยแก้ไข้จับสั่น (แก่น)
  8. ช่วยแก้อาการหืดไอ (แก่น)
  9. ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (แก่น)
  10. ช่วยแก้อาการท้องมานลงท้อง (แก่น)
  11. ช่วยขับลมในกระเพาะ (แก่น)
  12. ช่วยแก้มูกเลือด (แก่น)
  13. ช่วยรักษาริดสีดวง (แก่น)
  14. สรรพคุณต้นกันเกรา แก่นช่วยบำรุงม้าม (แก่น)
  15. ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนังและร่างกายได้ (แก่น)
  16. ช่วยรักษาผิวหนังพุพอง ปวดแสบปวดร้อน (เปลือกต้น)
  17. แก่นและใบเมื่อนำมาผสมกันจะใช้แก้โรคเส้นติดขัดได้ (แก่น, ใบ)
  18. ใบและผลมีสารคาลอยด์ที่ชื่อว่า Gentianine ซึ่งมีฤทธิ์ในการแก้ปวด แต่ไม่มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย (ใบ, ผล)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น