ใบเตย

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

กาหลง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กาหลง
กาหลง เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล ปลูกขึ้นง่ายในดินร่วนทั่วไป ที่มีความชื้นและอุดมสมบูรณ์ นิยมปลูกเป็นปลูกเป็นไม้ประดับ ทางสมุนไพรมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไอ[1]

กาหลงมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส), ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง), เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่), เสี้ยวดอกขาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

กาหลงเป็นไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ปลายแฉกทั้งสองข้างแหลม ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และจะแตกใบใหม่ราวเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ดอกออกหลังจากใบใหม่แตกออกมาแล้ว ดอกสีขาว มีลักษณะเป็นช่อดอกสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็กคล้ายรูปขอบขนาน
ประโยชน์ทางยา
รสและสรรพคุณในตำรายา
ราก รสเฝื่อนเปรี้ยว แก้ไอ แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้บิด
ต้น รสเฝื่อนเปรี้ยว แก้โรคสตรี แก้ลักปิดลักเปิด แก้เสมหะ
ใบ รสเฝื่อนหวาน รักษาแผลในจมูก
ดอก รสสุขุม แก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิตสูง แก้เสมหะพิการ แก้เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนเป็นเลือด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น