ใบเตย

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

กาฬพฤกษ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กาฬพฤกษ์
กาฬพฤกษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia grandis) เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง กึ่งผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เรือนยอดทรงกลมหรือคล้ายรูปร่มแผ่กว้าง โคนมีพูพอน เปลือกมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 10-20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนานกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบมนโคนใบเบี้ยวใต้ใบมีขนนุ่ม ดอกออกเป็นช่อพร้อมใบอ่อนตามกิ่ง ช่อดอกยาว 10-20 เซนติเมตร เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นชมพูตามลำดับ ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาว 20-40 เซนติเมตร สีค่อนข้างดำ ผิวมีรอยแตกและมีสันทั้งสองข้างเมล็ดรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนานมี 20-40 เมล็ด สีเหลือง มีรสขม และมีกลิ่นเหม็น มีถิ่นกำเนิดอเมริกาเขตร้อน นิยมปลูกอยู่ทั่วไป ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ประโยชน์[แก้]

ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื้อไม้และเปลือกมีสารฝาด ใช้ฟอกหนัง

สรรพคุณของกาฬพฤกษ์

  1. เนื้อในฝักใช้เป็นยาแก้พิษไข้ (เนื้อในฝัก)[1]
  2. เปลือกและเมล็ด ใช้รับประทานเป็นยาทำให้อาเจียน และเป็นยาถ่ายพิษไข้ได้ดี (เปลือก, เมล็ด)[1],[3]
  3. เนื้อในฝักใช้ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกไม่ไซ้ท้อง และระบายท้องเด็กได้ดีมาก โดยสามารถรับประทานได้ถึงครั้งละ 8 กรัม จะไม่ปวดมวนและไม่ไซ้ท้องเลย แต่ความแรงของยานี้จะสู้ต้นคูนไม่ได้ (เนื้อในฝัก)[1],[3],[4]

ประโยชน์ของกาฬพฤกษ์

  1. คนสมัยก่อนจะใช้เนื้อในฝักกินกับหมาก[4]
  2. เนื้อไม้และเปลือกมีสารฝาด สามารถนำมาใช้ในการฟอกหนังได้[4]
  3. นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป และจัดเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดบุรีรัมย์[2]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น