ใบเตย

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้าวสารดอกใหญ่

ข้าวสารดอกใหญ่

                            ข้าวสารดอกใหญ่


ข้าวสารดอกใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphistemma pulchellum (Roxb.) Wall. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)[1]
สมุนไพรข้าวสารดอกใหญ่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เคือคิก (สกลนคร), เข้าสาร (ราชบุรี), ไคร้เครือ (สระบุรี), ข้าวสารดอกใหญ่ (กรุงเทพฯ), เมือสาร (ชุมพร), เครื่อเขาหนัง (ภาคเหนือ), มะโอเครือ เคือเขาหนัง (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ข้าวสาร (ภาคกลาง), เซงคุยมังอูมื่อ เซงคุยมังอูหมื่อ มังอุยเหมื่อเซงครึย (กะเหรี่ยง-ลำปาง), โอเคือ (ลาว), ข้าวสารเถา เป็นต้น[1],[3]

ลักษณะของข้าวสารดอกใหญ่

  • ต้นข้าวสารดอกใหญ่ จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยมีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีขนาดเล็กและเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ต้องการแสงแดดปานกลางถึงค่อนข้างมาก ต้องการน้ำในระดับปานกลาง ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนปนทรายที่อุดมไปด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ส่วนการให้ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักใบไม้ ฯลฯ มักเกิดขึ้นตามป่าดิบเขาบริเวณชายป่าและตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป หรือในพื้นที่เปิดที่ระดับความสูงประมาณ 400-1,300 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบขึ้นในอินเดีย เนปาล พม่า จีนตอนใต้ และมาเลเซีย
  • ใบข้าวสารดอกใหญ่ ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลมเป็นหางยาว โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-20 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ด้านบนที่โคนเส้นกลางใบมีขนขึ้นเป็นกระจุก ก้านใบมีลักษณะเรียวและเล็ก มีขนาดยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร
  • ประโยชน์ของข้าวสารดอกใหญ่

    • ดอกและผลใช้เป็นอาหารได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น