กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง ภาษาอังกฤษ Rosella, Jamaican sorel, Roselle, Rozelle, Sorrel, Red sorrel, Kharkade, Karkade, Vinuela, Cabitutu
กระเจี๊ยบแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง), กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ส้มพอ ส้มพอเหมาะ เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา
ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง
- ต้นกระเจี๊ยบแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
ใบกระเจี๊ยบแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
- กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล, เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง)
สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง
- กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล, เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
- เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง, ยอดและใบ)
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชง ความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
- ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ผล)
- น้ำกระเจี๊ยบช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้มากกว่าบลูเบอร์รีถึง 50%
- ช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
- ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ดอก)
- ใบใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ, ดอก)
- ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำกระเจี๊ยบ)
- ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ, เมล็ด, ยอดและใบ)
- ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยาลดน้ำหนัก เนื่องจากเป็นยาระบายและยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
- ใบกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็ได้จนหมดน้ำยา (ใบ, ผล, ทั้งต้น)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น