ใบเตย

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

กำลังพญาเสือโคร่ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กำลังพญาเสือโคร่ง

                               กำลังพญาเสือโคร่ง


กำลังพญาเสือโคร่ง ชื่อสามัญ Birch
กําลังพญาเสือโคร่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Betula alnoides Buch.-Ham. ex D.Don จัดอยู่ในวงศ์กำลังเสือโคร่ง (BETULACEAE)
กำลังพญาเสือโคร่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่), พญาเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง (คนเมือง), ลำแค ลำแคร่ ลำคิแย (ลั้วะ), เส่กวอเว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ลักษณะของกำลังพญาเสือโคร่ง

  • ต้นกำลังพญาเสือโคร่ง มีถิ่นกำเนิดและพบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,000 เมตร และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ มีความสูงราว 20-40 เมตร วัดรอบลำต้นได้ประมาณ 1-2 เมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเทาหรือเกือบดำ เปลือกมีต่อมระบายอากาศเป็นจุด ๆ เล็ก ๆ ขาว ๆ ลักษณะกลมหรือรีปะปนกันอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายกับการบูร เมื่อแก่จะลอกออกเป็นชั้น ๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกจะมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ ขนเหล่านี้จะลดลงเรื่อย ๆ จนเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยงเมื่อแก่ ส่วนของเนื้อไม้ กระพี้ และแก่นมีสีต่างกันเพียงเล็กน้อย เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลืองปนขาวหรือค่อนข้างขาว เนื้ออ่อนค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนตรง แข็งปานกลาง มีลวดลายที่สวยงาม และสามารถไสกบตบแต่งได้โดยง่าย ขัดเงาได้ดี ต้นกำลังพญาเสื้อโคร่งขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
  • สรรพคุณของกำลังพญาเสือโคร่ง

    1. เปลือกต้นใช้ทำเป็นยาดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย หรือจะใช้เปลือกต้นที่ตากแห้งแล้วใช้ผสมกับม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ลืม ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก แก่นฝาง ลำต้นฮ่อสะพายควาย และจะค่าน นำมาต้มเป็นยาดื่ม (เปลือกต้น)
    2. เปลือกใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (เปลือกต้น)
    3. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
    4. ช่วยบำรุงเลือด (เปลือกต้น)
    5. เปลือกใช้ต้มเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น)
    6. ช่วยบำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ (เปลือกต้น)
    7. ช่วยอาการปวดฟัน ป้องกันฟันผุ ด้วยการใช้เปลือกต้น นำมาถากออกเป็นแผ่นแล้วนำมาเผาไฟ แล้วนำผงที่ได้มาทาบริเวณที่ปวดฟันหรือฟันผุ (เปลือกต้น)
    8. เปลือกต้นช่วยขับลมในลำไส้ (เปลือกต้น)
    9. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
    10. ช่วยชำระล้างไตให้สะอาดมากขึ้น (เปลือกต้น)
    11. ช่วยบำบัดอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของสตรีไม่สมบูรณ์ หรือมดลูกชอกช้ำหรืออักเสบอันเนื่องมาจากการถูกกระทบกระเทือน การแท้งบุตร หรือมดลูกไม่แข็งแรงให้หายเร็วเป็นปกติ (เปลือกต้น)
    12. ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง (เปลือกต้น)
    13. รากใช้ต้มเป็นน้ำดื่มร่วมกับรากโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือจะใช้เปลือกต้นที่ตากแห้งแล้วใช้ผสมกับม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ล้ม ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก แก่นฝาง ลำต้นฮ่อสะพายควาย และจะค่าน นำมาต้มเป็นยาดื่ม (ราก, เปลือกต้น)
    14. เปลือกต้นมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ หากทิ้งไว้จนเปลือกแห้ง กลิ่นจะทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง (เปลือกต้น)
    15. เปลือกต้นมีกลิ่นหอม ใช้ดมแก้อาการหน้ามืดตาลายได้ (เปลือกต้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น