ใบเตย

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

กะหล่ำปลีม่วง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กะหล่ำปลีม่วง
กะหล่ำปลีสีม่วงหรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่ากะหล่ำแดงนั้น คนส่วนใหญ่นิยมนำกะหล่ำปลีสีม่วงมารับประทานสดเป็นเมนูสลัดมากกว่าการนำมารับประทานในรูปแบบอื่นๆ กะหล่ำปลีสีม่วงไม่ได้มีดีตรงที่สีสันที่แปลกตาไปจากกะหล่ำปลีทั่วไปเท่านั้น แต่มันยังอุดมไปด้วยคุณค่าและสารอาหารอีกมากมายดังนี้ 

กะหล่ำปลีสีม่วงมีสารชนิดหนึ่งชื่อ สารอินไทบิน เมื่อรับประทานเข้าไปจึงรับรู้ได้ถึงรสขมมากกว่ากะหล่ำปลีสีขาวทั่วไป เหตุที่ขมกว่าก็เพราะกะหล่ำปลีสีม่วงมีเจ้าสารอินไทบินนั่นเอง สารอินไทบินมีความสำคัญต่อร่างกายตรงที่มันจะช่วยเผาผลาญสารอาหารในร่างกายและกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงตับ ไต ถุงน้ำดี และกระเพาะ อีกทั้งกะหล่ำปลีสีม่วงยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยเสริมสร้างฮีโมโกลบินให้กับร่างกาย หากร่างกายมีฮีโมโกลบินดีก็จะสามารถนำออกซิเจนกับเม็ดเลือดแดงไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกายได้ นอกจากนี้ยังพบว่ากะหล่ำปลีสีม่วงมีสารเอสเมธิลเมโธโอนินและสารกอยโตรเจนที่ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและโรคคอพอกได้อีกด้วย แต่สรรพคุณที่ทำให้กะหล่ำปลีสีม่วงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปก็คือ ช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง โดยกะหล่ำปลีสีม่วงมีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ได้ และหากนำมาประคบที่เต้านมของคุณแม่หลังคลอดจะช่วยแก้อาการนมคัดอีกด้วย 

กะหล่ำปลีสีม่วงเป็นพืชที่มีใยอาหารสูงและประกอบด้วยสารอาหารมากมายหลายชนิด เช่น โปรตีนคาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบมากกว่ากะหล่ำปลีสีเขียว มีสารซัลเฟอร์ (Sulfer) ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่อีกทั้งยังต้านสารก่อโรคมะเร็งอีกด้วย ดังนั้น การรับประทานกะหล่ำปลีสีม่วงเป็นประจำจึงช่วยลดอันตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งในช่องท้อง รักษาระดับคอเรสเตอรอลในร่างกาย ทั้งยังช่วยให้นอนหลับสบาย น้ำจากกะหล่ำปลีสีม่วงยังช่วยรักษาโรคกระเพาะได้อีกต่างหาก 

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรจะรับประทานกะหล่ำปลีสดๆ มากกว่า 1-2 กก.ต่อวัน เพราะในกะหล่ำปลีจะมีสาร goitrogen ที่คอยขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย แต่ถ้าหากเรารับประทานกะหล่ำปลีที่สุกแล้วสารดังกล่าวก็จะหายไปเอง 

สรรพคุณ / ประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วง (กะหล่ำปลีแดง)

กะหล่ำปลีแดงเป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูงและอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน (สาร indols ซึ่งเป็นผลึกที่แยกมาจาก trytophan กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบค่อนข้างมากกว่า กะหล่ำปลีสีเขียวถึงสองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันมีสารซัลเฟอร์ (Sulfer) ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่และต้านสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย
การกินกะหล่ำปลีบ่อย ๆ จะช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคลอเรสเตอรอลและช่วยงับประสาททำให้นอนหลับดี น้ำกะหล่ำปลีคั้นสด ๆ ช่วยรักษาโรคกะเพาะ อย่างไรก็ตามกะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำให้นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควรกินกะหล่ำปลีสด ๆ วัยละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป
กะหล่ำปลีแดงนิยมรับประทานสด เช่น ในสลัดหรือนำมาตกแต่งจานอาหาร การนำมาประกอบอาหารไม่ควรผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น