การะเกด
การะเกด ชื่อสามัญ Screwpine[2]
การะเกด ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus tectorius Parkinson ex Du Roi จัดอยู่ในวงศ์เตยทะเล (PANDANACEAE)
สมุนไพรการะเกด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า การะเกด การะเกดด่าง ลำเจียกหนู (กรุงเทพมหานคร), เตยด่าง เตยหอม (ภาคกลาง) เป็นต้น[1]
หมายเหตุ : ต้นการะเกดที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับต้นเตยทะเล (Seashore Screwpine) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pandanus odorifer (Forssk.) Kuntze (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus odoratissimus L.f.)
ลักษณะของการะเกด
- ต้นการะเกด จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรูปทรงคล้ายต้นเตย สูงได้ประมาณ 3-7 เมตร มีรากอากาศค่อนข้างยาวและใหญ่ มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน และนำไปปลูกกันทั่วไป ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะหรือริมน้ำ ดินทรายชายทะเล ลำห้วย ริมลำธาร สามารถพบขึ้นได้ตามชายหาดและพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเล
- ใบการะเกด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรางน้ำ แผ่นใบค่อย ๆ เรียวแหลมไปหาปลายใบ ส่วนขอบใบมีหนามแข็งยาวประมาณ 0.2-1 เซนติเมตร ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.7-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร แผ่นใบด้านล่างมีนวล
- ผลการะเกด ลักษณะของผลจะเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร แต่ละผลมีขนาดกว้างประมาณ 2-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางเป็นสีแดง ส่วนตรงปลายยอดเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วจะมีโพรงอากาศจำนวนมาก
สรรพคุณของการะเกด
- ดอกมีกลิ่นหอม รสสุขุม ใช้ปรุงเป็นยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ใช้เป็นยาแก้โรคในอก เจ็บอก เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงหัวใจ และบำรุงธาตุ (ดอก)[2],[3]
- ยอดใช้ต้มกับน้ำให้สตรีดื่มตอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น